จากปัญหาภาวะความอ่อนแอของกุ้ง ที่เกิดจากระบบการเลี้ยงกุ้งที่อาศัยสารเคมีต่างๆ ในการบำบัดและการฆ่าเชื้อรวมถึงปัญหาการแพร่ระบาดของโรคตายด่วน (Early mortality syndrome; EMS) ซึ่งมีรายงานว่าน่าจะเกิดจากการแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรียVibrio parahaemolyticus สายพันธุ์ก่อโรค กลุ่มผู้เลี้ยง และ ผู้ผลิตแบคทีเรียที่มีประโยชน์สำหรับการบำบัดน้ำ และดิน ในธรรมชาติ ได้เกิดแนวคิดร่วมกันในการ พัฒนาระบบการเลี้ยงกุ้งแนวชีวภาพ ที่มีความปลอดภัยเพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมีในบ่อเลี้ยงกุ้ง โดยคาดการณ์ว่าระบบดังกล่าวจะช่วยทำให้กุ้งในบ่อเลี้ยงมีความแข็งแรงและมุ่งหวังที่จะใช้แบคทีเรียที่มีประโยชน์สำหรับการบำบัดน้ำและดินช่วยควบคุมสภาวะแวดล้อมในบ่อเลี้ยง รวมถึงช่วยยับยั้งการเจริญและการแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรียกลุ่มที่ทำให้เกิดโรคในกุ้งได้
การใช้แบคทีเรียที่มีประโยชน์สำหรับการบำบัดน้ำและดินช่วยควบคุมสภาวะแวดล้อมในบ่อเลี้ยง รวมถึงช่วยยับยั้งการเจริญและการแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรียกลุ่มที่ทำให้เกิดโรคในกุ้งได้ ซึ่งในระหว่างกระบวนการพัฒนาระบบการเลี้ยงนี้
การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม…ในประเทศไทย มีอยู่ทั่วทุกพื้นที่ เนื่องจากการพัฒนารูปแบบการเลี้ยงและสายพันธุ์ให้สามารถเลี้ยงได้ทั้งในพื้นที่น้ำเค็มและน้ำจืด
ระยะเริ่มต้น.. การเตรียมพื้นที่สำหรับการเลี้ยงถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด เนื่องจากลักษณะที่สำคัญของพื้นที่เลี้ยงควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือคลองส่งน้ำ เพราะสามารถมีน้ำหมุนเวียนได้ตลอดทั้งปี
ลักษณะพื้นฐานของบ่อเลี้ยง” ควรมีความลึก 1.5-2 เมตร กำหนดให้พื้นบ่อด้านใดด้านหนึ่งเป็น Slope ต่ำลงมา มีจุดลึกที่สุดทำให้สะดวกต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งสุดท้าย และจุดนั้นเองจะใช้สำหรับวางท่อระบายน้ำเข้าออกด้วย ซึ่งจะวางท่ออยู่ต่ำกว่าพื้นตลิ่งลงไป 50 เซนติเมตร เชื่อมต่อไปยังคลองส่งน้ำหรือบ่อพักน้ำของฟาร์ม
สุดท้าย…ควรกำหนด “จุดเช็คยอ” ว่าจะวางในตำแหน่งใดเพื่อสะดวกต่อการเช็คอาหารและขนาดของกุ้งที่เลี้ยง
แหล่งน้ำ…ถือเป็นหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญไม่แพ้ปัจจัยอื่น เพราะถือเป็นตัวชี้วัดสำหรับคนเลี้ยงกุ้ง ว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ดังนั้นการหาพื้นที่ใกล้น้ำสะอาดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
การเตรียมพื้นบ่อ” ให้พร้อมสำหรับการเลี้ยง
ขั้นตอนการเตรียมพื้นบ่อและน้ำเลี้ยง…จะต้องมีการปรับปรุงดินหน้าดินก่อนเติมน้ำลงบ่อ โดยจะใช้ “ปูนขาว” หรือ “ปูนร้อน” เดินสาดทั่วบ่อเพื่อกำจัดศัตรูชนิดต่างๆและฆ่าเชื้อที่เป็นพาหะต่อกุ้ง รวมถึงเป็นการปรับสภาพหน้าดินไปในตัว ซึ่งจะมี “ปูนมาร์ล” และ “แคลเซียม” เสริมเข้ามาเพิ่ม เพื่อปรับคุณภาพดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกุ้ง
เตรียมน้ำ และระบบให้อากาศ
เมื่อได้หน้าดินที่เหมาะสมกับการเลี้ยงกุ้งแล้ว จะต้องตากบ่อไว้อีกประมาณ 1 -2 วัน จึงสามารถเริ่มนำน้ำเข้าบ่อได้ ซึ่งระดับควรอยู่ที่ 1.50- 2 เมตร
ลูกกุ้ง และอาหาร
อัตราการปล่อยลูกกุ้งที่เหมาะสม…จะอยู่ที่ไร่ละ 50,000 – 80,000 ตัว/ไร่ ขนาด p 10-15 แต่ราคาของกุ้งจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ หากเป็น แม่นอกราคาจะอยู่ที่ 8-15 สต./ตัว แม่ไขว้ราคาจะอยู่ที่ 6-8 สต./ตัว
BCI ได้สร้างสรร เทคโนโลยี เพื่อการปรับสภาพสิ่งแวดล้อมของบ่อเลี้ยงกุ้ง ประกอบด้วย
- ไมแอ๊ค จุลินทรีย์เพื่อปรับสภาพสมดุลของน้ำ ควบคุมสาหร่าย และทำให้ pH ของน้ำนิ่ง เสถียร ช่วยลดการใช้ปูนขาว ปูนมาร์ลในการเตรียมน้ำ
- ดีเซฟ เพื่อปรับปรุงสภาพดินก้นบ่อ ย่อยตะกอนเลน และกำจัดก๊าซำพิษที่สะสมในตะกอนเลน เพื่อรักษาสภาพบ่อเลี้ยงให้มีความปลอดภัยเหมาะต่อการเลี้ยงและกุ้งมีสุขภาพดี

