

ดีเซฟ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์คัดสายพันธุ์พิเศษ ของ BCI ที่ถูกออกแบบให้ มีประสิทธิภาพในการย่อยสลาย และ ทำงานได้ดีในภาวะที่ไม่มีอากาศ เช่น บริเวณก้นบ่อ โดยจุลินทรีย์ในดีเซฟ จะย่อยสลายสารอินทรีย์ ให้มีขนาดโมเลกุลที่เล็กลง เพื่อให้จุลินทรีย์และแพลงก์ตอนอื่นใช้หมุนเวียนในการดำรงชีวิตต่อไป ซึ่งกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ของดีเซฟ สามารถทำงานได้ทั้งภาวะที่ไม่มีออกซิเจน (Anaerobic Condition) ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่น้ำชั้นล่าง และในตะกอนเลนก้นบ่อเนื่องจากมีปริมาณออกซิเจนไม่เพียงพอ

ดีเซฟ จึงช่วยในการลดปริมาณเลน และควบคุมไม่ให้มีปริมาณเลนที่พื้นก้นบ่อ รวมทั้งยังช่วยกำจัดก๊าซพิษที่สะสมในตะกอนเลน เช่น ก๊าซไข่เน่า หรือ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ก๊าซแอมโมเนีย ซึ่งเกิดขึ้นได้เสมอจากการทำงานของจุลินทรีย์กลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนที่มักพบในตะกอนเลน นอกจากนี้ดีเซฟยังช่วยปรับสีของตะกอนเลน จากสีดำเป็นสีน้ำตาล ไม่มีกลิ่นเหม็น รวมทั้งการใช้ดีเซฟในช่วงเตรียมบ่อยังช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ให้กลายเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อลูกกุ้ง รวมทั้งช่วยให้เกิดอาหารพวกไรแดง ซึ่งทำให้ลูกกุ้งมีอาหารธรรมชาติที่พอเพียง และแข็งแรง
D-SAVE / ดี เซฟ จุลินทรีย์ชีวภาพ สลายกากตะกอนอินทรีย์บ่อกุ้ง ขจัด+ป้องกันการสะสมไฮโดรเจนซัลไฟต์
การควบคุมตะกอนเลน ที่พื้นบ่อในการเลี้ยงกุ้ง เป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญที่ช่วยให้การเลี้ยงกุ้งประสบความสำเร็จ ซึ่งนอกจากจะต้องมีการเตรียมบ่อที่ดี และระบบการป้องกันโรคที่ดีแล้ว จะต้องคำนึงถึงการจัดการระหว่างการเลี้ยงที่ดีด้วย โดยเฉพาะการควบคุมและกำจัดตะกอนเลนก้นบ่อ เพื่อให้สภาพแวดล้อมในบ่อทั้งคุณภาพน้ำและสภาพพื้นบ่ออยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้งตลอดระยะเวลาการเลี้ยง ซึ่งการจัดการที่ดีต้องอาศัยการทำอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ลงกุ้งจนถึงวันที่จับกุ้ง ซึ่งคุณภาพน้ำและสภาพพื้นบ่อมีความสัมพันธ์กัน โดยพื้นบ่อจะเป็นแหล่งสะสมของสารอินทรีย์และของเสียที่เกิดจากการเลี้ยงกุ้งที่ถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ซึ่งกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนพื้นบ่อจะมีผลโดยตรงกับคุณภาพน้ำ ถ้าพื้นบ่อเกิดเน่าเสียจะก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อการเลี้ยงกุ้งทั้งในแง่ของสุขภาพกุ้ง การเกิดโรค การเจริญเติบโตอัตรารอดและผลผลิตกุ้ง โดยเฉพาะถ้าปล่อยให้เกิดการสะสมของตะกอนเลนที่พื้นบ่อและไม่มีการจัดการที่ดีพอ
ตะกอนเลนในบ่อเลี้ยงกุ้งจะประกอบไปด้วย อาหารที่เหลือจากการกินของกุ้ง ซากแพลงก์ตอน ขี้กุ้ง คราบกุ้ง แบคทีเรีย และวัสดุปูนต่าง เป็นต้น ที่ตกตะกอนและเกิดทับถมกันที่ก้นบ่อ โดยอาหารที่เหลือจากการกินของกุ้ง ขี้กุ้ง และซากแพลงก์ตอนที่ตายทับถมกันที่พื้นบ่อถือว่าเป็นต้นกำเนิดของสารอินทรีย์ในบ่อเลี้ยงกุ้ง
ผลกระทบของตะกอนเลนต่อการเลี้ยงกุ้ง เมื่อเกิดตะกอนมาก ส่งผลให้ค่าพีเอชและค่าการละลายของออกซิเจนในน้ำรอบวันแกว่งมาก การให้อาหารที่ไม่สอดคล้องต่อความต้องการของกุ้งในบ่อ หรือการที่ต้องให้อาหารมากเนื่องจากการลงกุ้งในบ่ออย่างหนาแน่น จะทำให้เกิดการสะสมของสารอินทรีย์ในอาหารที่เหลือและขี้กุ้งที่ขับถ่ายออกมาในตะกอนเลนพื้นบ่อเป็นปริมาณมาก เมื่อเกิดการย่อยสลายจะทำให้มีการสะสมของธาตุอาหารต่าง ๆ ได้แก่ ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในปริมาณที่มากด้วย ซึ่งธาตุอาหารเหล่านี้เป็นตัวเร่งส่งผลทำให้แพลงก์ตอนพืชมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จนทำให้ปริมาณแพลงก์ตอนพืชหนาแน่นจนเกินไป ทำให้น้ำในบ่อมีสีเขียวเข้ม น้ำหนืดเร็ว มีค่าความโปร่งแสงต่ำ ซึ่งการที่อัตราการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืชรวดเร็วจนกระทั่งสูงเกินกว่าระดับที่เหมาะสมนั้น จะส่งผลกระทบทำให้ค่าพีเอชและค่าออกซิเจนในรอบวันมีความแตกต่างกันมาก โดยในช่วงเวลากลางคืนจนกระทั่งถึงเช้าน้ำในบ่อเลี้ยงจะมีค่าพีเอชลดลงมาก ส่วนปริมาณออกซิเจนก็จะลดต่ำลงด้วยอาจไม่เพียงพอต่อกุ้งได้ ส่วนในเวลากลางวันน้ำจะมีค่าออกซิเจนสูงเกินจุดอิ่มตัวและมีค่าพีเอชสูง ซึ่งการแกว่งของค่าพีเอชและปริมาณออกซิเจนละลายน้ำค่อนข้างมากย่อมส่งผลกระทบต่อกุ้งโดยตรง ทำให้กุ้งเครียด เจริญเติบโตช้า ติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย รวมทั้งการที่พีเอชของน้ำที่สูงขึ้นยังส่งผลกระทบต่อสารพิษบางตัว เช่น แอมโมเนีย มีความเป็นพิษเพิ่มขึ้น ทำให้เป็นอันตรายต่อกุ้งได้ นอกจากนี้เมื่อมีปัจจัยควบคุมการสังเคราะห์แสง เช่น ความเข้มแสงที่ลดลง ก็ทำให้เกิดการตายของแพลงก์ตอนพร้อม ๆ กัน ออกซิเจนจะถูกใช้ไปโดยจุลินทรีย์เพื่อย่อยสลายซากแพลงก์ตอนเหล่านี้ ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลงอย่างรวดเร็วจนกระทั่งเกิดสภาวะการขาดแคลนออกซิเจน ส่งผลให้กุ้งเครียด อ่อนแอ กุ้งกินอาหารได้ลดลง หรืออาจมีการตายของกุ้งในกรณีที่ระดับออกซิเจนลดต่ำมาก ถ้าไม่รีบแก้ไขปัญหาก็จะเกิดสภาวะไร้ออกซิเจนที่พื้นบ่อ ทำให้การย่อยสลายสารอินทรีย์ยิ่งลดน้อยลงไปอีก เนื่องจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะที่มีออกซิเจนจะเกิดขึ้นดีและเร็วกว่าการย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจน ทำให้เกิดการสะสมของสารอินทรีย์ต่างๆเพิ่มมากยิ่งขึ้น และทำให้สารพิษบางชนิดจากการย่อยสลายของจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน เกิดสารที่เป็นพิษต่อกุ้งจากกระบวนการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน ไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือก๊าซไข่เน่า เกิดขึ้นเนื่องจากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจนโดยแบคทีเรียบางกลุ่มสามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ต่าง ๆ ได้โดยใช้ออกซิเจนจากซัลเฟต (SO2-4) ทำให้ได้ไฮโดรเจนซัลไฟด์ซึ่งเป็นรูปของสารประกอบซัลไฟด์ที่เป็นพิษต่อกุ้ง โดยความเป็นพิษของก๊าซไข่เน่าจะทำให้สัตว์เกิดอาการคล้ายกับการขาดออกซิเจนแต่จะรุนแรงกว่าการขาดออกซิเจนมาก ซึ่งสภาวะดังกล่าวทำให้กุ้งอ่อนแอ และเกิดการตายของกุ้งได้
แอมโมเนีย กระบวนการย่อยสลายประกอบไนโตรเจนในสารอินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบของตะกอนเลน โดยจุลินทรีย์ทำให้เกิดการสะสมของแอมโมเนียในน้ำ ซึ่งถ้ามีมากเกินไปจะทำให้กุ้งขับถ่ายแอมโมเนียออกจากตัวได้น้อยลง ทำให้เกิดการสะสมอยู่ในเลือดและเนื้อเยื่อ ทำให้ค่าพีเอชของเลือดสูงขึ้น ซึ่งมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ต่างๆ นอกจากนั้นแอมโมเนียจะไปทำลายเหงือกและทำให้การขนส่งออกซิเจนได้น้อยลงทำให้กุ้งอ่อนแอ ติดโรคต่าง ๆ ได้ง่ายแลละอาจทำให้เกิดการตายของกุ้งด้วย
