BT – CIDE กำจัดลูกน้ำยุงลาย นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม

กำจัดลูกน้ำยุงลาย

BT-CIDE จุลินทรีย์ กำจัดลูกน้ำยุงลาย ในน้ำดื่ม - น้ำใช้ ปลอดภัยต่อคุณ และคนที่คุณรัก

BT CIDE เป็น นวัตกรรมใหม่ ที่เป็นที่นิยมและน่าสนใจเพราะเป็นการ กำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยทางชีวภาพ ซึ่งจะให้ความปลอดภัยสูง ต่อคน สัตว์เลี้ยง และไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหาย จุลินทรีย์ที่กล่าวถึง เป็นแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Bacillus thuringiensis israelensis (BTI) ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2519 ที่ประเทศอิสราเอล ต่อมาได้มีการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับกำจัดลูกน้ำยุงและริ้นดำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา

ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ Bacillus thuringiensis subsp. israeensis (BTI) ชนิดเม็ด ภายใต้ชื่อการค้า “บีที-ไซด์ / BT-CIDE” ที่มีความแรง 1250 ITU/mg น้ำหนักเม็ดละ 1 กรัม ภายใต้การวิจัยและพัฒนาโดยบริษัท เบสท์ แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย)

จุลินทรีย์ใน บีที-ไซด์ ถูกกลืนกินโดย ลูกน้ำยุงลาย พิษของจุลินทรีย์ BTI จะทำปฏิกิริยากับน้ำย่อยอาหารที่มีความเป็นด่างสูง (เฉพาะของลูกน้ำยุงลาย) ทำให้สารพิษแตกตัวออกมา สารพิษจะไปทำลายเยื่อบุของกระเพาะอาหาร ทำให้เซลล์เยื่อบุผิวอักเสบ บวม พอง ทำให้เซลล์แตกสลาย ลูกน้ำจะเป็นอัมพาต จมน้ำ สุดท้ายลูกน้ำยุงลายตายในเวลาต่อมา

อะไร คือ บีที-ไซด์ / BT – CIDE

สารออกฤทธิ์สำคัญ Bacillus thuringiensis israelensis (BTI) ความแรง 1250 ITU/mg. ผลิตภัณฑ์

คุณสมบัติ สำหรับ ใช้ในการควบคุม และ กำจัดลูกน้ำยุงลาย ยุงพาหะนำเชื้อโรคไข้เลือดออก ใช้อัตรา 1 เม็ด ต่อน้ำ 200 ลิตร มีประสิทธิภาพกำจัดลูกน้ำยุงลายได้ 100% ภายใน 24 ชม. ฤทธิ์ของจุลินทรีย์มีความคงทนสามารถกำจัดลูกน้ำยุงลายได้นานในช่วง 60-90 วัน

จุดเด่น เป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อ ลูกน้ำยุงลาย เท่านั้น ปลอดภัยต่อคน สัตว์เลี้ยง และสิ่งแวดล้อม ไม่มีสารเคมีตกค้าง เมื่อใส่ในน้ำ น้ำไม่ขุ่น ไม่มีกลิ่นเหม็น สามารถนำน้ำไปใช้ในการดื่มหรือการใช้ได้ทันที

โรคไข้เลือดออก

มาตรฐานความปลอดภัย

  • องค์การอนามัยโลก (WHO) รับรองว่าเป็นแบคทีเรียที่ไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ สัตว์เลี้ยง และสิ่งแวดล้อม ใช้กำจัดลูกน้ำยุงลายในน้ำดื่มและน้ำใช้ได้ดี มีค่าความเป็นพิษที่ปลอดภัยเท่ากับ LD 50 = > 30,000 mg/kg/bw.
  • สำนักงานควบคุมสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา (United State Environmental Protection Agency) ได้ตรวจรับรองความปลอดภัยได้ทะเบียนเป็น EPA EST No. 70051-CA-001
  • กรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ทดสอบฤทธิ์ตกค้างของผลิตภัณฑ์ที่อัตราการใช้ 1 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร พบว่า
  • กรณีมีการใช้น้ำและทดแทน 50% ของปริมาณน้ำในตุ่มทุกวัน ฤทธิ์ตกค้างทำให้ลูกน้ำยุงลายตาย 100% ได้ไม่น้อยกว่า 20 วัน
  • กรณีมีการใช้น้ำและทดแทน 90% ของปริมาณน้ำในตุ่มทุกวัน ฤทธิ์ตกค้างทำให้ลูกน้ำยุงลายตายได้ไม่น้อยกว่า 90% ได้ไม่น้อยกว่า 15 วัน
  • สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ผ่านการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันทางปากและทางผิวหนัง

 

กำจัดลูกน้ำยุงลาย

สาระน่ารู้ โรคไข้เลือดออก

โรคที่มียุงเป็นพาหะนับเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขระดับภูมิภาค ที่มีสภาพอากาศแบบร้อนชื้นมาโดยตลอด โรคติดต่อที่เกิดจากยุงเป็นพาหะนำโรค ที่สำคัญ 3 โรค ได้แก่ ไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ เจ อี (Japanese Encephalitis) และโรคมาลาเรีย และสถานการณ์ปัจจุบันที่โลกกำลังเผชิญปัญหาภาวะโลกร้อน นอกจากจะทำให้ลูกน้ำยุงฟักตัวเร็วขึ้น เช่นระยะฟักตัวของลูกน้ำยุงลายฟักตัวเร็วขึ้นจากเดิม 7 วันกลายเป็น 5 วัน ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มจำนวนประชากรยุงได้เร็วขึ้นแล้ว ภาวะโลกร้อนยังทำให้ยุงลายขยายช่วงเวลาออกหากินไปถึง 5 ทุ่ม ทำให้การควบคุมโรคนั้นยากขึ้นไปกว่าเดิม รวมทั้งอุณหภูมิที่อุ่นขึ้นทั่วโลก ยังทำให้ขอบเขตพื้นที่อาศัยของยุงพาหะกว้างขึ้น ดังข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกที่ได้ประกาศว่า ขณะนี้มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ในมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ทั้งในภูมิภาคแอฟริกา อเมริกา เมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แปซิฟิกตะวันตก โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกตะวันตกมีสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกน่าเป็นห่วงมาก ทั้งที่ก่อนปี 2513 (ค.ศ.1970) มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกเพียง 9 ประเทศ สำหรับใน ประเทศไทย สถานการณ์การระบาดของโรคของปีพ.ศ. 2558 พบว่ามีความรุนแรงเป็น 3 เท่าของปีที่ผ่านมา

เมื่อ ค.ศ.1970 มีการระบาดของไข้เลือดออกเป็นครั้งคราว epidemic 9 ประเทศ ปัจจุบันไข้เลือดออก มีการระบาดเพิ่มมากขึ้น ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันไข้เลือดออก เป็นโรคประจำท้องถิ่น endemic ของประเทศมากว่า 100 ประเทศในแถบแอฟริกา อเมริกา เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific โดยมีความรุนแรงมากในแถบ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ western pacific

ประชากรประมาณ 2,500 ล้านคนในประเทศที่มีการระบาดจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้เลือดออก ประมาณว่าจะมีการติดเชื้อปีละ 50 ล้านคน และต้องนอนโรงพยาบาลมากกว่า 500,000 คนต่อปี อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 2.5 แต่อาจจะสูงถึงร้อยละ 20 หากให้การรักษาอย่างดีอัตราการเสียชีวิตอาจจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ1

ยุงลาย ที่เป็นต้นเหตุ ไข้เลือดออกร้ อยละ 95 เป็นยุงที่อยู่ในบ้านเรือน อีกร้อยละ 5 อยู่ตามบริเวณสวน โดยยุงตัวเมียมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 45 วัน หลังผสมพันธุ์แค่ครั้งเดียว สามารถวางไข่ตัวละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 1,000-2,000 ฟอง การเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกถือเป็นงานที่ท้าทายการบริหารจัดการของผู้บริหารทุกระดับ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ความรู้ความเข้าใจ และขอความร่วมมือประชาชนให้ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อลดปริมาณยุงให้น้อยที่สุด ก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูกาลที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูงที่สุด

ในการ กำจัดยุงลาย ต้องช่วยกันดูแล ปิดฝาโอ่งน้ำกินน้ำใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายเข้าไปวางไข่ ส่วนในภาชนะเล็กๆ ในบ้านเรือน เช่น แจกัน ไม้ประดับ น้ำที่อยู่ในจานรองกระถางต้นไม้ น้ำในเล้าไก่เลี้ยงตามบ้าน ให้เปลี่ยนน้ำ เททิ้งทุก 7 วัน โดยเฉพาะจุดเสี่ยงที่สุดคือในห้องน้ำ โดยทั่วไปจะมีสภาพชื้น เย็น และมีมุมอับมืด จะเป็นที่ซ่อนตัวของยุงลายได้ จึงต้องหมั่นดูว่ามีลูกน้ำยุงลายหรือไม่ หากพบว่ามีแม้แค่ตัวเดียว ก็ให้ตักทิ้งไป หรือใช้น้ำให้หมดไป และถ่ายน้ำทิ้ง จะเป็นวิธีกำจัดยุงลายที่ดีที่สุด การพ่นหมอกควันไม่สามารถป้องกันในระยะยาว เป็นเพียงการควบคุมชั่วคราวเพื่อฆ่ายุงลายตัวแก่ในบริเวณที่มีการระบาด เพื่อไม่ให้ยุงที่มีเชื้อไปกัดหรือวางไข่ต่อที่อื่นๆ อีก

มาตรการในการ กำจัดยุงลาย มีหลายวิธี ในช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก การใช้สารเคมีฉีดพ่นกำจัดยุงตัวเมียยังมีความจำเป็นอยู่มาก เพราะจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างฉับพลัน จากนั้นกำจัดยุงลายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตามมา ทั้งนี้ก็เพราะว่าในปัจจุบันมีการพิสูจน์ว่ายุงลายมีการถ่ายทอดเชื้อไวรัสไข้เลิอดออก ผ่านไปสู่รุ่นลูกทางไข่ได้แล้ว จำเป็นต้องกำจัดลูกน้ำยุงลายให้หมดด้วย การควบคุมโรคให้เกิดผลที่ดีต้องควบคุมดัชนีชี้วัด BI (Breteau Index ) ให้ได้ต่ำกว่า 100 หรือให้มีค่าต่ำที่สุด การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก จึงประสบผลสำเร็จได้อย่างยั่งยืน การกำจัดลูกน้ำยุงลายมีหลายวิธี เช่น การใช้เคมีเทมีฟอส การใช้สารยับยั้งการเติบโตของลูกน้ำยุงลาย การใช้มวนตัวห้ำกินลูกน้ำยุงลาย การใช้ปลากินลูกน้ำยุงลาย การใช้จุลินทรีย์กำจัดลูกน้ำยุงลาย เป็นต้น

ที่ผ่านมา ภาครัฐได้สร้างกลยุทธเพื่อลดการแพร่กระจายของไข้เลือดออกและโรคที่มียุงเป็นพาหะอื่นๆ รวมทั้งขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดกิจกรรมลงพื้นที่ การแจกสารกำจัดลูกน้ำยุง เช่น ทรายอะเบท (ABATE® (temephos)) แต่ปัญหาไม่ใช่ว่าประชาชนไม่มีสารกำจัดลูกน้ำยุง หรือยังไม่มีข้อมูลหรือสื่อความรู้เกี่ยวกับประเด็นนี้ เพียงแต่ปัญหาคือการเห็นความสำคัญและการตระหนักรู้ถึงอันตรายใกล้ตัว และวิธีการป้องกัน ซึ่งแท้จริงแล้วมีประสิทธิผลมากกว่าการตามรักษาโรคเสียอีก