กำจัดลูกน้ำยุง

BCI  ได้สร้างสรรค์ เทคโนโลยี การใช้จุลินทรีย์กำจัดลูกน้ำยุงลาย เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เป็นที่นิยมและน่าสนใจเพราะเป็นการกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยทางชีวภาพ ซึ่งจะให้ความปลอดภัยสูง ต่อคน สัตว์เลี้ยง และไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหาย จุลินทรีย์ที่กล่าวถึง เป็นแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Bacillus thuringiensis israelensis (Bti) มีชื่อการค้า คือ BT-CIDE / บีที-ไซด์  ซึ่ง BTI ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2519 ที่ประเทศอิสราเอล ต่อมาได้มีการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับกำจัดลูกน้ำยุงและลิ้นดำตั้งแต่ปี พศ. 2525 เป็นต้นมา 

กำจัดลูกน้ำยุงลาย

โรคระบาดทางสาธารณสุข
โรคที่มียุงเป็นพาหะนับเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขระดับภูมิภาคที่มีสภาพอากาศแบบร้อนชื้นมาโดยตลอด โรคติดต่อที่เกิดจากยุงเป็นพาหะนำโรค ที่สำคัญ 3 โรค ได้แก่ ไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ เจ อี (Japanese Encephalitis) และโรคมาลาเรีย และสถานการณ์ปัจจุบันที่โลกกำลังเผชิญปัญหาภาวะโลกร้อน[1] นอกจากจะทำให้ลูกน้ำยุงฟักตัวเร็วขึ้น เช่นระยะฟักตัวของลูกน้ำยุงลายฟักตัวเร็วขึ้นจากเดิม 7 วันกลายเป็น 5 วัน ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มจำนวนประชากรยุงได้เร็วขึ้นแล้ว  ภาวะโลกร้อนยังทำให้ยุงลายขยายช่วงเวลาออกหากินไปถึง 5 ทุ่ม ทำให้การควบคุมโรคนั้นยากขึ้นไปกว่าเดิม รวมทั้งอุณหภูมิที่อุ่นขึ้นทั่วโลก ยังทำให้ขอบเขตพื้นที่อาศัยของยุงพาหะกว้างขึ้น ดังข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกที่ได้ประกาศว่า ขณะนี้มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ในมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก  ทั้งในภูมิภาคแอฟริกา อเมริกา เมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  แปซิฟิกตะวันตก  โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกตะวันตกมีสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกน่าเป็นห่วงมาก ทั้งที่ก่อนปี 2513 (ค.ศ.1970) มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกเพียง 9 ประเทศ[2]  สำหรับใน ประเทศไทย สถานการณ์การระบาดของโรคของปีพ.ศ. 2558 พบว่ามีความรุนแรงเป็น 3 เท่าของปีที่ผ่านมา[3]

โรคไข้เลือดออก  หรือ Dengue hemorrhagic fever  เกิดจากไวรัสเดงกีซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ การติดเชื้อครั้งแรกมักจะมีอาการไม่รุนแรง แต่ถ้าติดเชื้อครั้งที่ 2  โดยเชื้อที่ต่างสายพันธุ์กับครั้งแรก อาการมักจะรุนแรงถึงขั้นเลือดออกหรือช็อค หรือเสียชีวิต โรคนี้พบมาก ในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี

โรคนี้ติดต่อจากคนสู่คน โดยมียุงลาย (Aedes aegypt ) เป็นพาหะที่สำคัญ ยุงตัวเมียจะกัดและดูดเลือดของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฟักตัวเพิ่มจำนวนในยุงหลังจากนั้นยุงจะมีเชื้อไวรัสอยู่ในตัวตลอดอายุของมัน (ประมาณ 1-2 เดือน) และสามารถถ่ายทอดเชื้อให้คนที่ถูกมันกัดได้ ยุงลายเป็นยุงที่อาศัยอยู่ภายในบ้านและบริเวณบ้าน มักจะกัดเวลากลางวัน แหล่งเพาะพันธุ์ คือ น้ำใสที่ขังอยู่ตามภาชนะเก็บน้ำต่างๆ เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ถ้วยรองขาตู้ จาน ชาม กระป๋อง หม้อ กระถาง ยางรถ เป็นต้น โดยทั่วไปโรคนี้จะพบมากในฤดูฝน เนื่องจากเด็กมักอยู่ในบ้านมากกว่าฤดูอื่นๆ และยุงลายมีการแพร่พันธุ์มากในฤดูฝน แต่ในเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพฯ อาจพบโรคนี้ได้ตลอดปี

[1] Jansen CC, Beebe NW. The dengue vector Aedes aegypti: what comes next. Microbes and infection. 2010 Apr 30;12(4):272-9.

[2] http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs117/en/

[3] “ไข้เลือดออกยอดพุ่งกระฉูด 'กทม.'แพร่ระบาดมากที่สุด” หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน 2558   http://www.dailynews.co.th/regional/362795

ยุงลายที่เป็นต้นเหตุไข้เลือดออกร้อยละ 95 เป็นยุงที่อยู่ในบ้านเรือน อีกร้อยละ 5 อยู่ตามบริเวณสวน โดยยุงตัวเมียมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 45 วัน หลังผสมพันธุ์แค่ครั้งเดียว สามารถวางไข่ตัวละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 1,000-2,000 ฟอง การเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกถือเป็นงานที่ท้าทายการบริหารจัดการของผู้บริหารทุกระดับ รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ความรู้ความเข้าใจ และขอความร่วมมือประชาชนให้ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อลดปริมาณยุงให้น้อยที่สุด ก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูกาลที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูงที่สุด 

ในการกำจัดยุงลาย ต้องช่วยกันดูแล ปิดฝาโอ่งน้ำกินน้ำใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายเข้าไปวางไข่ ส่วนในภาชนะเล็กๆ ในบ้านเรือน เช่น แจกัน ไม้ประดับ น้ำที่อยู่ในจานรองกระถางต้นไม้ น้ำในเล้าไก่เลี้ยงตามบ้าน ให้เปลี่ยนน้ำ เททิ้งทุก 7 วัน โดยเฉพาะจุดเสี่ยงที่สุดคือในห้องน้ำ โดยทั่วไปจะมีสภาพชื้น เย็น และมีมุมอับมืด จะเป็นที่ซ่อนตัวของยุงลายได้ จึงต้องหมั่นดูว่ามีลูกน้ำยุงลายหรือไม่ หากพบว่ามีแม้แค่ตัวเดียว ก็ให้ตักทิ้งไป หรือใช้น้ำให้หมดไป และถ่ายน้ำทิ้ง จะเป็นวิธีกำจัดยุงลายที่ดีที่สุด การพ่นหมอกควันไม่สามารถป้องกันในระยะยาว เป็นเพียงการควบคุมชั่วคราวเพื่อฆ่ายุงลายตัวแก่ในบริเวณที่มีการระบาด เพื่อไม่ให้ยุงที่มีเชื้อไปกัดหรือวางไข่ต่อที่อื่นๆ อีก

มาตรการในการกำจัดยุงลาย มีหลายวิธี ในช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก การใช้สารเคมีฉีดพ่นกำจัดยุงตัวเมียยังมีความจำเป็นอยู่มาก  เพราะจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างฉับพลัน จากนั้นกำจัดยุงลายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตามมา  ทั้งนี้ก็เพราะว่าในปัจจุบันมีการพิสูจน์ว่ายุงลายมีการถ่ายทอดเชื้อไวรัสไข้เลิอดออก ผ่านไปสู่รุ่นลูกทางไข่ได้แล้ว  จำเป็นต้องกำจัดลูกน้ำยุงลายให้หมดด้วย การควบคุมโรคจึงเกิดผลต้องควบคุมดัชนีชี้วัด BI (Breteau Index ) ให้ได้ต่ำกว่า 100 หรือให้มีค่าต่ำที่สุด การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก จึงประสบผลสำเร็จได้อย่างยั่งยืน การกำจัดลูกน้ำยุงลายมีหลายวิธี เช่น การใช้เคมีเทมีฟอส การใช้สารยับยั้งการเติบโตของลูกน้ำยุงลาย  การใช้มวนตัวห้ำกินลูกน้ำยุงลาย การใช้ปลากินลูกน้ำยุงลาย  การใช้จุลินทรีย์กำจัดลูกน้ำยุงลาย เป็นต้น 

 

โรคไข้เลือดออก
กำจัดลูกน้ำยุง

วงจรชีวิตยุง